Ann Hui | Hong Kong | 2011 June 28, 2012
A Simple Life
Kinji Fukasaku | Japan | 2000 June 27, 2012
ภาณุพันธ์ยุคล, เนรมิต | 2504 [1961] June 25, 2012 เราดูหนังเรื่องนี้เป็นรอบที่สี่แล้ว ความรู้สึกยังคงสดใหม่ทุกครั้งไป และทุกครั้ง...
เรือนแพ | Ruen Pae aka The Boat House
June 25, 2012
เราดูหนังเรื่องนี้เป็นรอบที่สี่แล้ว ความรู้สึกยังคงสดใหม่ทุกครั้งไป และทุกครั้งที่ดู แม้รู้สึกว่าบางฉากบางตอนช่างดูรกหูรกตา โดยเฉพาะต่อการพยายามนำเสนอความเป็นไทยอย่างไร้ลีลา แต่ตัวหนังโดยรวมก็ยังคงครอบงำเรา จนต้องนำมาเปิดดูอยู่เป็นระยะๆ และหนังเรื่องนี้ก็คงเป็นเหตุผลสำคัญหนึ่งที่ทำให้เรารักภาพยนตร์ไทยเสียเหลือเกิน พล็อตเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งที่ควรใช้คำว่า "คลาสสิก" บทสนทนาที่ทำให้หวนรำลึกถึงคืนวันดีๆ ของภาพยนตร์ไทย เสียงพากย์ที่มากับหนังยังคงทำให้อยากย้อนเวลากลับไปดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์เมื่อคราออกฉาย และเช่นทุกครั้ง เรายังคงติดตาฉากที่แก้วได้ยินเสียงเพลงและตระหนักว่าเป้าหมายการสังหารคือเพื่อนของตน และช็อตที่งดงามที่สุดในประวัติศาสตร์หนังไทยในทัศนะของเรา เมื่อกล้องจับภาพมาเรีย จางในระยะใกล้ ด้านหลังในเงามืด ไชยาค่อยๆ ปรากฏตัวในเรือนแพซึ่งเคยสุขสันต์ร่วมกันทุกคน ทั้งสองสนทนากันอย่างทุกข์ระทม เราน้ำตาเอ่อทุกครั้งเมื่อถึงช็อตนี้
David Fincher | USA | 1992 June 24, 2012 โอเค เพิ่งได้สังเกตว่า ยกเว้นภาคสอง ภาคที่เหลือทั้งหมดเลือกที่จะให้ผู้ชายที่มีบุคลิกเป็นพระเ...
Alien³
June 24, 2012
โอเค เพิ่งได้สังเกตว่า ยกเว้นภาคสอง ภาคที่เหลือทั้งหมดเลือกที่จะให้ผู้ชายที่มีบุคลิกเป็นพระเอกหรือมี "ความเป็นชาย" ที่ริปลีย์น่าจะพึ่งได้ที่สุดให้ตายไปเสียไวๆ
ตอนนั้นยังอยู่ต่างจังหวัดเมื่อคราหนังเรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ จำได้ว่าได้ดูหลายรอบ แต่นึกไม่ออกแล้วว่าทำไม เพราะเพื่อนคนละกลุ่มลากไปดู หรือเพราะมันฉายเป็นหนังควบ จำไม่ได้ แต่รู้สึกว่าตอนนั้นเราค่อนข้างจะชอบมันไม่น้อยเลยนะ ซึ่งนั่นอาจเพราะกำลังสนุกกับการได้ตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มันใส่เข้ามาให้ได้ขบคิดเล่น พอมาดูตอนนี้ กลับรู้สึกเฉยๆ กับมันเสียอย่างมาก ซีจีเห็นเจ้าเอเลี่ยนเต็มตัวเมื่อครั้งกระโน้นทำให้ตื่นเต้นอยู่ล่ะ วันนี้ให้รู้สึกอนาถกับท่าวิ่งดุ๊กดิ๊กของมัน อีกอย่างที่ค้นพบคือ ตัวเราเองเลือกที่จะดูหนังแบบขี้เกียจคิดมากขึ้น ยี่สิบปีก่อนโน้น (! ยี่สิบปี!) อาจจะคิดเลื่อนเปื้อนไปเรื่อยแบบเด็กเพิ่งหัดดูหนัง แต่นั่นอาจจะดีกว่าปัจจุบันที่ทางเลือกมีมากขึ้นแต่คิดน้อยลง ถึงวันนี้ก็ยังไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองแก่ แต่พอตระหนักความเปลี่ยนแปลงนี้ ให้รู้สึกเศร้าพิกล
Jean-Pierre Jeunet | USA | 1997 June 24, 2012 ไม่มีอะไรมากหรอก ก็เพียงแค่รื้อมันกลับมาดูให้ทุกภาคเพราะวางแผนจะไปดู Prometheus (แต่ดูเ...
Alien: Resurrection
June 24, 2012
ไม่มีอะไรมากหรอก ก็เพียงแค่รื้อมันกลับมาดูให้ทุกภาคเพราะวางแผนจะไปดู Prometheus (แต่ดูเหมือนว่าจะเหลวเป๋วเพราะหนังคงออกจากโรงหนังแถวนี้ไปเสียแล้ว) แต่ยังไงก็ดีที่ได้หยิบมันมาทบทวนความทรงจำอีกรอบ เราดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกตอนมันเข้าฉายโรงหนังทั่วไปในเมืองไทย มันชื่อโรงหนังอะไรแล้วนะแถวๆ แยกแคลายที่กรุงเทพฯ ถ้าจำไม่ผิด ตอนมันเปิดเนี่ย ดูเหมือนจะเป็นโรงหนังที่ทันสมัยที่สุด เรายังคงถ่อไปดูหนังที่นี่อยู่อีกพักใหญ่แม้ในช่วงที่มันเริ่มซบเซาเพราะคนดูมีทางเลือกทันสมัยที่ไปมาสะดวกง่ายดายได้มากขึ้น
ดูภาคสี่นี้อีกรอบ ยิ่งยืนยันว่าตอนนั้นเรารู้สึกไม่ผิดว่าไอ้ภาคนี้มันแปลกไปจากภาคอื่นจริงๆ ตอนนั้นได้แต่นึกว้าวๆ เพราะแม้เนื้อหามันจะอ่อน แต่ความเท่ห์เก๋นั้นอยู่ในระดับเอกอุ ความสยองขวัญไม่ใช่ที่การฆ่าและลุ้นระทึก แต่อยู่ที่สไตล์และความอัปลักษณ์พิลึกพิลั่น ดูตอนนี้ก็ยังรู้สึกว่ามันเจ๋งอยู่ดี
David Brooks | USA, Canada | 2012 June 22, 2012 ลองหยิบมาดูเพราะเห็นเพื่อนหลายคนเชียร์หนังเรื่องนี้กัน สำหรับตัวเองแล้ว ไม่ค่อยชอบห...
ATM
June 22, 2012
ลองหยิบมาดูเพราะเห็นเพื่อนหลายคนเชียร์หนังเรื่องนี้กัน สำหรับตัวเองแล้ว ไม่ค่อยชอบหนังทำนองนี้สักเท่าไหร่หรอก และก็ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะดีนักหนาอย่างพวกเพื่อนๆ มันว่า ผลเป็นอย่างไรน่ะหรือ แน่ล่ะ ดีกว่าที่คิดไว้ ไม่ได้เหี้ยมโหดเลือดสาดอะไรมากมาย เร้าใจให้ติดตามได้พอสมควร ส่วนไอ้เรื่องสัญลักษณ์ การตีความต่างๆ ที่เค้าว่ามันเต็มไปหมดนั้น เราสนใจซะที่ไหนกัน แค่พอผ่าน ไม่ได้ผิดหวังมากมายนักก็โอเคล่ะ
Jonathan Liebesman | USA | 2012 June 20, 2012 ตอนภาคแรก ได้ดูเพราะน้องคนหนึ่งลากไปดูในโรงหนัง แบบสามมิติด้วยนะ ซึ่งจนถึงบัดนี้ไอ้เจ้า...
Wrath of the Titans
June 20, 2012
ตอนภาคแรก ได้ดูเพราะน้องคนหนึ่งลากไปดูในโรงหนัง แบบสามมิติด้วยนะ ซึ่งจนถึงบัดนี้ไอ้เจ้าภาคแรกนั้นก็ยังคงเป็นหนังหนึ่งในสองเรื่องที่เราได้ดูเป็นหนังสามมิติ (อีกเรื่องคือ Rio! หุ หุ)
ภาคแรกสนุกในระดับหนึ่งสำหรับเรา นั่นอาจเป็นเพราะตื่นตาตื่นใจกับสามมิติมั้ง แม้ว่าตัวหนังและเทคนิคสามมิติจะถูกด่าเละเทะด้วยการทำลวกๆ ไม่ใช่สามมิติจริง แต่กับเรามันได้ผลระดับหนึ่งล่ะ ก็แหม หนังสามมิติเรื่องสุดท้ายที่ได้ดูคือ ภาคใดภาคหนึ่งของเจ้าเฟรดดี้ ครูเกอร์ ที่เข้าฉายเมื่อร่วมยี่สิบที่แล้ว (! คุณพระช่วย นี่มันนานขนาดนั้นแล้วหรือเนี่ย) และเราดูมันด้วยแว่นตากระดาษสามมิติของโรงหนังที่ใกล้ปิดตัวแห่งหนึ่งที่ต่างจังหวัด ก่อนหน้านั้นน่ะหรือ หนังสามมิติเค้ารอดูกันทางโทรทัศน์ในช่วงรายการพิเศษวันหยุด และแว่นตาก็ได้มาจากการเอากล่องผงซักฟอกไปแลก!
ภาคนี้ดูที่บ้าน ไม่ได้มีโทรทัศน์สามมิติอะไรกับเค้าล่ะ ถ้าได้ดูในโรงหนังสามมิติจริงๆ อาจจะตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่งก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นมันจึงออกมาแกนๆ เฉยๆ ออกจะรำคาญบ่อยครั้งที่หนังมันจะเอาเร็วอะไรกันเสียขนาดนั้น และไอ้ที่น่าเบื่อที่สุดก็คือ สังคมอเมริกันและหนังฮอลลีวู้ดเนี่ย มันจะวุ่นวายอะไรกันหนักหนากับการว่าด้วยประเด็นครอบครัวและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว จนเหมือนกับว่าถ้าไม่ใส่ประเด็นนี้หนังจะไม่มีค่า เบื่อเจ้าค่ะ
Stephen Quay and Timothy Quay | UK | 2000 June 19, 2012 เราได้ดีวีดีรวมอะนิเมชั่นของสองพี่น้องตระกูลเควย์นี้มานานแล้ว เคยเปิดดูผ่านๆ ...
In Absentia
June 19, 2012
เราได้ดีวีดีรวมอะนิเมชั่นของสองพี่น้องตระกูลเควย์นี้มานานแล้ว เคยเปิดดูผ่านๆ บางเรื่อง เพิ่งมาวันนี้เองที่ได้เปิดไปเรื่องหลังๆ ตั้งแต่ดูประปรายก่อนหน้านี้ เราเห็นได้แล้วล่ะถึงความมหัศจรรย์ของอะนิเมชั่นของพวกเขา มันแปลกปร่า หม่นมืด น่าทึ่ง และยากยิ่งหาอะไรเปรียบในตระกูลเดียวกัน แ่ต่ที่สุดของการดูครั้งนี้คือตอนได้สัมผัสถึงเรื่อง In Absentia (2000, 20 นาที)
คุณพระช่วย นี่เป็นอะนิเมชั่น+คนแสดงที่ต้อนเราไปจนมุมจริงๆ มันหม่นหมองสุดขั้ว หลอนสุดขีด เนื้อเรื่องเล็กๆ ของหญิงสาวคนหนึ่งที่พยายามเขียนจดหมายไปหาชายคนรัก ปัญหาเพียงอย่างเีดียวนั้นคือ เธอเป็นผู้ป่วยซึ่งพำนักอยู่ในสถานบำบัดจิต ความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะจรดดินสอเพื่อเขียนจดหมาย การไม่อาจควบคุมตัวและจิตใจ ดินสอหักและเหลาใหม่ In Absentia อาจดูต่างไปจากอะนิเมชั่นหลายเรื่องดังของพวกเขา แต่องค์ประกอบหลายอย่างก็ยังสะท้อนให้เห็นสไตล์เฉพาะและอัจฉริยภาพของพี่น้องคู่นี้ อะนิเมเตอร์ทั้งสองจับภาพมือที่กร้านโลก ปลายหักของดินสอและเศษริ้วจากการเหลา ตัวละครอะนิเมชั่นที่คอยสังเกตสังการาวกับภูติผีโดยเราไม่อาจเข้าใจได้แม่นมั่นว่าพวกนั้นคืออะไร อาจเป็นวิกลจริต ความเลวร้าว หรือกระทั่งความทรงจำ เมื่อมันปรากฏอยู่ในหนังของพี่น้องเควย์ มันดำรงอยู่อย่างแปลกประหลาดในโลกอันหม่นทราม ที่ซึ่งแสง จังหวะ และเวลาเคลื่อนไหวอย่างพิลึกพิลั่น และแน่นอนว่าอะนิเมชั่นเรื่องนี้บรรลุจุดสูงสุดของมันด้วยเสียงดนตรีที่หลอนและหดหู่สุดขีดของ Karlheinz Stockhausen
แม้มันจะหม่นและหดหู่ แต่พิกลที่ผลลงเอยกับเราด้วยความรู้สึกเศร้าจนแทบร่ำ และคล้ายหัวใจสลายลงอย่างสิ้นเชิง
Adam Brooks | USA et al. | 2008 June 18, 2012 อือฮึ เซอร์ไพร้ส์แฮะ อยากจะหวานกับเค้าบ้างเลยหยิบเรื่องนี้มาดู แล้วให้พบว่ามันดีไม่น้อย...
Definitely, Maybe
June 18, 2012
อือฮึ เซอร์ไพร้ส์แฮะ อยากจะหวานกับเค้าบ้างเลยหยิบเรื่องนี้มาดู แล้วให้พบว่ามันดีไม่น้อยในบรรดาหนังแนวทางเดียวกัน โรแมนติกมากโขอยู่ นั่นอาจเพราะเราไม่ค่อยเจอแนวเรื่องทำนองนี้จากหนังฮอลลีวูดกระมัง ให้ดิ้นเถอะ เผลอแอบคิดอีกจนได้ว่าถ้าเนื้อเรื่องแบบนี้ทำเป็นหนังญี่ปุ่น (เอาล่ะ หรือเกาหลีก็ได้ในปัจจุบัน) มันคงไปได้อีกหลายระดับ ตอนแรกก็ลังเลกระอักกระอ่วนอยู่ว่าการใส่ฉากหนังที่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1990 เข้ามานั้นมันจะเป็นการพยายามเกินไปที่จะให้หนัง "มีอะไร" มากไปหรือเปล่า แต่พอไปถึงตอนท้ายๆ เรื่อง เมื่อการคลี่คลายของตัวละครทุกตัวเริ่มนำไปสู่บทสรุป เรารู้สึกว่าภูมิหลังเหล่านั้นมีค่ากับตัวหนังและทำหน้าที่ของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลิ่นหวนรำลึกถึงอดีต (ระยะใกล้) อย่างเบาบาง ค่านิยมบางอย่างที่ดูจะไม่ใช่แบบอเมริกันที่เรารับรู้ ไรอัน เรย์โนลด์สที่ดูดีที่สุดในบรรดาหนังทั้งหมดที่เขาแสดงและเราเคยดู ราเชล วีสซ์ที่ยังคงยอดเยี่ยมเหมือนเดิม เอลิซาเบธ แบงค์สซึ่งทำเป็นเล่นไป นี่อาจเป็นนักแสดงหญิงอเมริกันร่วมสมัยคนหนึ่งที่เราชอบมากที่สุดก็เป็นได้ และโดยเฉพาะอิสลา ฟิเชอร์ที่แสดงให้เห็นเลยว่ามีศักยภาพมากกว่าที่เคยตระหนักกันก็ได้ ทั้งหมดนี้ทำให้โรแมนติกดีและเหมาะกับเราจังเลย :)
Andrew Stanton | USA | 2012 June 17, 2012 สนุกดีแต่ไม่มีอะไรให้จดจำได้สักเท่าไหร่
John Carter
Hati Merdeka (original title) | Yadi Sugandi and Conor Allyn | Indoensia | 2011 June 13, 2012 ได้หนังเรื่องนี้มาจากควา...
Hearts of Freedom
Ridley Scott | USA, UK | 1979 June 9, 2012
Kenneth Bi | Singapore, Hong Kong | 2004 June 7, 2012
จรัญ พรหมรังษี | 2519 [1976] June 6, 2012
0 comments:
Post a Comment